บ้านตากลางหรือหมู่บ้านช้าง จังหวัดสุรินทร์
บ้านตากลางหรือหมู่บ้านช้าง จังหวัดสุรินทร์
มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เป็นการเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร ทั้งในด้านภาษาพูดและความเป็นอยู่รวมกันระหว่าง คนกับช้าง โดยคนในชุมชนจะยึดถือ ศาลปะกำ ช้างเป็นหลัก และยังเป็นชุมชนที่ยังหลงเหลือให้ดูเพียงหนึ่งเดียวในโลกคือ ชุมชนชาวกวยเลี้ยงช้าง คนและช้างเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวที่มีความผูกพันกันอย่างแนบสนิทตามฐานะอายุของช้างและคน ถ้าช้างมีอายุมากก็เปรียบช้างเสมือนพ่อ-แม่-ปู่-ย่า-ตา-ยาย ถ้าช้างมีอายุน้อยก็เปรียบช้างเสมือนลูก-หลาน ตามธรรมเนียมชาวกวยช้างคือสัตว์คู่บ้านคู่เมือง คู่พระพุทธศาสนา มีคุณค่าต่อชาวโลกด้านวัฒนธรรมประเพณีมาทุกยุคทุกสมัย จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เช่น ประเพณีกราบไหว้ศาลปะกำประจำตระกูล วัฒนธรรมประเพณีลอดท้องช้าง วัฒนธรรมประเพณีบวชนาคแห่นาคด้วยช้าง วัฒนธรรมประเพณีการเคารพกฏ ระเบียบข้อปฏิบัติ ข้อห้ามของหมอช้างเป็นต้น กลายเป็นวิถีชีวิตของชุมชนอย่างแท้จริง
การแสดงความสามารถของช้างภายในศูนย์คชศึกษาทุกวัน ๆ ละ 2 รอบ รอบแรกเวลา 10.00 น. รอบที่สอง 14.00 น. มีการแสดงที่น่าสนใจ เช่น ช้างวาดรูป ช้างเล่นห่วงยาง ช้างนั่ง ช้างยืนสองขา ช้างเดินข้ามคน นั่งงวงช้าง และการแสดงอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมายต้องมาชมการด้วยตนเองที่ศูนย์คชศึกษา
ลักษณะทั่วไปของช้าง
เป็นสัตว์บก ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นสัตว์เลือดอุ่นและเลี้ยงลูกด้วยนม ปกติออกลูกครั้งละ ๑ตัว กินพืช เป็นอาหาร มองจากภายนอกจะเห็นว่า ช้างมีลักษณะ ที่แตกต่างจากสัตว์อื่นๆ เช่น รูปร่างใหญ่โตมีงวงที่ยื่นยาวออกมา มีงาสีขาว ๑คู่อยู่ข้างริมฝีปาก มีใบหูที่กว้างใหญ่โบกพัดไปมา ศีรษะโต ตาเล็ก ขาใหญ่ตรง และหางที่ยาว จนเกือบจะพื้นดิน ช้างที่พบในปัจจุบันมี ๒ ชนิด ได้แก่
ช้างเอเชีย (subspecies)
ช้างทุ่งแอฟริกา (Loxodonta africana africana)
ในประเทศไทย ช้างเป็นสัตว์ที่ได้รับการยกย่องให้มีความสำคัญและอยู่เหนือสัตว์ทั้งมวล ช้างที่มีคชลักษณ์ที่ดีต้องตามตำราคชศาสตร์ ได้แก่ “ช้างเผือก” ถือเป็นสัตว์มงคลแห่งองค์พระมหากษัตริย์ เป็น สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง พระมหากษัตริย์พระองค์ใดมีช้างเผือก คู่พระบารมีจำนวนมาก ถือว่าทรงมีบุญญาธิการมาก
ข้อมูลที่น่ารักเกี่ยวช้างไทย
ช้าง - ช้างเป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อายุช้าง - ช้างมีอายุเฉลี่ยประมาณ 80 ปี
น้ำหนักช้าง - ช้างเมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 3,000 – 5,000 กิโลกรัม
ส่วนสูงช้าง - ช้างเมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 8 – 9 ฟุต
ช้างกินอาหาร - ช้างจะกินอาหารประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว/วัน
ช้างนอน - ช้างจะหลับนอนเพียงวันละ 3-4 ชั่วโมง
ช้างต้องการน้ำ - ช้างจะกินน้ำประมาณวันละ 60 แกลลอน หรือ 15 ปิ๊บ/วัน
เริ่มผสมพันธุ์ - ช้างจะเริ่มผสมพันธ์ เมื่ออายุ ประมาณ 13-15 ปี จนถึงอายุ 60 ปี
ฤดูกาลผสมพันธุ์ - ช้างจะผสมพันธุ์ไม่เป็นฤดูกาล สุดแท้แต่โอกาสและบรรยากาศแวดล้อม
การผสมพันธุ์ - ช้างตัวผู้จะขึ้นทับตัวเมียครั้งหนึ่งใช้เวลา 30-60 วินาที และใช้เวลาในการผสมพันธุ์จริงๆ (สอดเครื่องเพศ) เพียง 10-15 วินาทีเท่านั้น
การเป็นสัด - ช้างตัวเมียจะเป็นสัดปีละ 3-4 รอบ (ถ้าไม่มีการตั้งท้อง) เป็นสัดครั้งหนึ่งอยู่นาน 2-8 วัน (เฉลี่ย 4 วัน)
การตั้งท้อง - ช้างจะตั้งท้องนานประมาณ 18-22 เดือน (ลูกช้างผู้อยู่ในท้องนานกว่าลูกช้างตัวเมีย)
การตกลูก - ปกติช้างจะตกลูกคราวละ 1 ตัว อาจมีแฝดได้
ระยะเวลาการมีลูก - เมื่อแม่ช้างออกลูกมาแล้วจะดูแลและอยู่ร่วมกันกับลูก ประมาณ 3 ปี แล้วแม่ช้างจึงจะเริ่มผสมพันธุ์อีกครั้งหนึ่ง รวม ระยะเวลา 5 ปี กว่าแม่ช้างจะมีลูกแต่ละครั้ง
ลึงค์ - ลึงค์หรืออวัยวะสืบพันธุ์ของช้าง ช้างตัวผู้จะมีลึงค์ยาวประมาณ 1 – 2 เมตร ในสภาพปกติ และยาว 2 – 2.5 เมตร ขณะแข็ง
ลูกอัณฑะช้าง - ช้างตัวผู้จะมีลูกอัณฑะในช่องท้องใกล้ ๆ กับไต เมื่อโตเต็มวัย ลูกอัณฑะจะมีน้ำหนัก 1 – 4 กิโลกรัม
อากาศที่ชอบ - ปกติช้างชอบอยู่ในป่าดงดิบ ทึบ มีอากาศร่มเย็น อุณหภูมิประมาณ 18-20 องสาเซลเซียส ไม่ชอบอากาศร้อนจัด
การตกมัน - ช้างพลายและช้างพังที่โตเต็มวัยหรือเรียกว่าอยู่ในวัยฉกรรจ์ซึ่งมีอายุระหว่าง 20-60 ปี ถ้ามีร่างกายอ้วนถ้วนแข็งแรงสมบูรณ์และมีโอกาสตกมันได้ (บางเชือกขณะตกมันจะมีนิสัยดุร้าย และจำเจ้าของไม่ได้)
ระบบประสาท - ช้างจะรับรู้ทางระบบประสาทตาประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่จะมีระบบรับรู้การจำเสียง จำกลิ่นได้เป็นอย่างดี
ผิวหนัง - ช้างจะมีผิวหนังหนาประมาณ 1.9 – 3.2 เซนติเมตร
การเต้นของหัวใจ - ท่ายืน 25 – 30 ครั้ง/นาที
- ท่านอนตะแคง 72 – 98 ครั้ง/นาที
- ขณะออกกำลัง 60 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ - ช้างหายใจ 4 - 6 ครั้งต่อนาที
อุณหภูมิในร่างกาย - ปกติอุณหภูมิในร่างกายช้างประมาณ 36 – 37 องศาเซลเซียส
ฟันช้าง - ตลอดชีวิตของช้างจะมีฟันกรามถึง 6 ชุด
ซี่โครงช้าง - ช้างจะมีซี่โครงจำนวน 19 คู่
ข้อกระดูกหาง - ช้างมีข้อกระดูกหาง ประมาณ 26 – 33 ข้อ
เล็บเท้าช้าง - เท้าหน้าของช้างมี 5 เล็บ , เท้าหลังของช้างจะมี 4 เล็บ
หมายเหตุ : ศัพท์นิยม
ลักษณะนามของช้างป่า ใช้ ตัว
ลักษณะนามของช้างป่า ใช้ เชือก
ลักษณะนามของการรวมกลุ่มเป็นหมู่ของช้างป่า ใช้ ฝูง
ลักษณะนามของการรวมกลุ่มเป็นหมู่ของช้างบ้าน ใช้ โขลง
ลักษณะนามของช้างเผือก ใช้ ช้าง
ช้าง - ช้างเป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อายุช้าง - ช้างมีอายุเฉลี่ยประมาณ 80 ปี
น้ำหนักช้าง - ช้างเมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 3,000 – 5,000 กิโลกรัม
ส่วนสูงช้าง - ช้างเมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 8 – 9 ฟุต
ช้างกินอาหาร - ช้างจะกินอาหารประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว/วัน
ช้างนอน - ช้างจะหลับนอนเพียงวันละ 3-4 ชั่วโมง
ช้างต้องการน้ำ - ช้างจะกินน้ำประมาณวันละ 60 แกลลอน หรือ 15 ปิ๊บ/วัน
เริ่มผสมพันธุ์ - ช้างจะเริ่มผสมพันธ์ เมื่ออายุ ประมาณ 13-15 ปี จนถึงอายุ 60 ปี
ฤดูกาลผสมพันธุ์ - ช้างจะผสมพันธุ์ไม่เป็นฤดูกาล สุดแท้แต่โอกาสและบรรยากาศแวดล้อม
การผสมพันธุ์ - ช้างตัวผู้จะขึ้นทับตัวเมียครั้งหนึ่งใช้เวลา 30-60 วินาที และใช้เวลาในการผสมพันธุ์จริงๆ (สอดเครื่องเพศ) เพียง 10-15 วินาทีเท่านั้น
การเป็นสัด - ช้างตัวเมียจะเป็นสัดปีละ 3-4 รอบ (ถ้าไม่มีการตั้งท้อง) เป็นสัดครั้งหนึ่งอยู่นาน 2-8 วัน (เฉลี่ย 4 วัน)
การตั้งท้อง - ช้างจะตั้งท้องนานประมาณ 18-22 เดือน (ลูกช้างผู้อยู่ในท้องนานกว่าลูกช้างตัวเมีย)
การตกลูก - ปกติช้างจะตกลูกคราวละ 1 ตัว อาจมีแฝดได้
ระยะเวลาการมีลูก - เมื่อแม่ช้างออกลูกมาแล้วจะดูแลและอยู่ร่วมกันกับลูก ประมาณ 3 ปี แล้วแม่ช้างจึงจะเริ่มผสมพันธุ์อีกครั้งหนึ่ง รวม ระยะเวลา 5 ปี กว่าแม่ช้างจะมีลูกแต่ละครั้ง
ลึงค์ - ลึงค์หรืออวัยวะสืบพันธุ์ของช้าง ช้างตัวผู้จะมีลึงค์ยาวประมาณ 1 – 2 เมตร ในสภาพปกติ และยาว 2 – 2.5 เมตร ขณะแข็ง
ลูกอัณฑะช้าง - ช้างตัวผู้จะมีลูกอัณฑะในช่องท้องใกล้ ๆ กับไต เมื่อโตเต็มวัย ลูกอัณฑะจะมีน้ำหนัก 1 – 4 กิโลกรัม
อากาศที่ชอบ - ปกติช้างชอบอยู่ในป่าดงดิบ ทึบ มีอากาศร่มเย็น อุณหภูมิประมาณ 18-20 องสาเซลเซียส ไม่ชอบอากาศร้อนจัด
การตกมัน - ช้างพลายและช้างพังที่โตเต็มวัยหรือเรียกว่าอยู่ในวัยฉกรรจ์ซึ่งมีอายุระหว่าง 20-60 ปี ถ้ามีร่างกายอ้วนถ้วนแข็งแรงสมบูรณ์และมีโอกาสตกมันได้ (บางเชือกขณะตกมันจะมีนิสัยดุร้าย และจำเจ้าของไม่ได้)
ระบบประสาท - ช้างจะรับรู้ทางระบบประสาทตาประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่จะมีระบบรับรู้การจำเสียง จำกลิ่นได้เป็นอย่างดี
ผิวหนัง - ช้างจะมีผิวหนังหนาประมาณ 1.9 – 3.2 เซนติเมตร
การเต้นของหัวใจ - ท่ายืน 25 – 30 ครั้ง/นาที
- ท่านอนตะแคง 72 – 98 ครั้ง/นาที
- ขณะออกกำลัง 60 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ - ช้างหายใจ 4 - 6 ครั้งต่อนาที
อุณหภูมิในร่างกาย - ปกติอุณหภูมิในร่างกายช้างประมาณ 36 – 37 องศาเซลเซียส
ฟันช้าง - ตลอดชีวิตของช้างจะมีฟันกรามถึง 6 ชุด
ซี่โครงช้าง - ช้างจะมีซี่โครงจำนวน 19 คู่
ข้อกระดูกหาง - ช้างมีข้อกระดูกหาง ประมาณ 26 – 33 ข้อ
เล็บเท้าช้าง - เท้าหน้าของช้างมี 5 เล็บ , เท้าหลังของช้างจะมี 4 เล็บ
หมายเหตุ : ศัพท์นิยม
ลักษณะนามของช้างป่า ใช้ ตัว
ลักษณะนามของช้างป่า ใช้ เชือก
ลักษณะนามของการรวมกลุ่มเป็นหมู่ของช้างป่า ใช้ ฝูง
ลักษณะนามของการรวมกลุ่มเป็นหมู่ของช้างบ้าน ใช้ โขลง
ลักษณะนามของช้างเผือก ใช้ ช้าง
ความรู้ที่ได้รับจากการไปทัศน์ศึกษานอกมหาวิทยาลัยครั้งนี้ ทำให้ได้เรียนรู้ในเรื่องของช้างและชาวบ้านที่หมู่บ้านช้าง จ.สุรินทร์ นอกจากนี้ยังได้พูดคุยกับชาวบ้านและได้รู้วิธีการดำรงค์ชีวิตของช้างและมนุษย์ที่หมู่บ้านช้าง และได้ชมการแสดงของช้างในรูปแบบต่างๆ เช่น ช้างแตะบอล เล่นบาส เล่นฮูลาฮูป ฯ อย่างสนุกสนานกับการแสดง และในงานนี้ไม่ได้มีเพียงแสดงช้างอย่างเดียวยังมีการค้าขายสินค้าโอทอปอกด้วย เช่น พวงกุลแจ เสื้อผ้าสกรีนลายช้าง หมวก สร้อย-แหวน งาช้าง ฯ